ทดสอบ การได้ยิน

ทดสอบ การได้ยิน เทคนิคและเกณฑ์การประเมิน

0 Comments

ในการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของหูและการได้ยินหรือการ ทดสอบ การได้ยิน เป็นการตรวจการทำงานของหูและการได้ยินของระบบโสตประสาทในหูทั้งสองข้าง โดยเมื่อเราพบว่าหูหรือการได้ยินของเราเริ่มมีความผิดปกติ อาจจะได้ยินเสียงลดลง หรืออาจได้ยินเสียงรบกวนในหู ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการ ทดสอบ การได้ยิน เพื่อที่จะได้สามารถหาสาเหตุและการรักษาได้อย่างถูกวิธี แล้วเทคนิควิธีที่ใช้ในการทดสอบ การได้ยิน และเกณฑ์ความบกพร่องทางการได้ยินมีอะไรบ้าง 

  • Descending Technique 

เป็นเทคนิดการทดสอบ การได้ยินที่จะนำไปใช้ในการประเมินความสามารถในการได้ยินเสียงของผู้ป่วย โดยในการทดสอบจะมีการปล่อยระดับเสียงที่มีความดังก่อน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถได้ยินแล้วจึงค่อยๆ ลดระดับความดังของเสียงลงทีละ 10 dBHL ลดความดังลงจนถึงจุดที่ผู้ป่วยไม่สามารถได้ยินเสียง แล้วจึงเพิ่มระดับความดังจากจุดที่ไม่สามารถได้ยิน ทีละ 5 dBHL จนกว่าผู้ป่วยจะเริ่มกลับมาได้ยินเสียงอีกครั้ง ทำวนกลับไปกลับมาจนได้จุดที่ผู้ป่วยได้ยิน ในระดับเสียงที่เบาที่สุดที่สามรถตอบสนองได้ 50-70% ของจำนวนครั้งที่ให้สัญญาณ 

  • Ascending Technique

การทดสอบ การได้ยิน ด้วยเทคนิคนี้มักจะใช้กับผู้ที่สูญเสียการได้ยินที่อายุยังน้อยหรือเด็กนั่นเอง และผู้ที่หูหนวกในระดับรุนแรงมากรวมทั้งผู้ที่อาจแสร้งทำเป็นหูหนวก โดยจะมีรูปแบบการทดสอบที่ค่อนข้างคล้ายกัน คือ จะเริ่มจากเสียงที่ผู้ป่วยไม่สามารถได้ยินก่อนแล้วจึงเพิ่มระดับความดังขึ้นทีละ 10 dBHL จนถึงจุดที่มีระดับความดังที่ผู้ป่วยสามารถได้ยินหรือไม่ได้ยินบ้าง 

  • Combination Technique

เทคนิคการทดสอบ การได้ยิน นี้จะเป็นการผสมผสานระหว่างวิธีที่ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน เพื่อตรวจหาและประเมินความสามารถหรือสมรรถภาพในการได้ยินของผู้ป่วยที่อาจสูญเสียการได้ยิน โดยในการทดสอบจะมีการใช้ระดับเสียงที่มีความดังและเบาสลับกันไป ก่อนเข้ารับการทดสอบผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงและงดฟังเสียงที่ดังเกิน 80 dBA  เป็นเวลา 8-16 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดอาการหูตึงแบบชั่วคราว อาจจะมีการสวมใส่ที่ครอบหูหรือที่อุดหูก่อนมีการทดสอบ การได้ยิน

การแบ่งระดับความบกพร่องทางการได้ยิน จะมีเกณฑ์ ดังนี้

ในหูที่สามารถได้ยินปกติ จะมีระดับความดังที่เบาที่สุดที่สามารถได้ยินอยู่ที่ 25 เดซิเบล หรือสามารถได้ยินเสียงกระซิบได้ปกตินั่นเอง ในผู้ที่มีอาการหูตึงน้อย ระดับความดังที่เบาที่สุดที่สามารถได้ยินได้อยู่ที่ 25-40 เดซิเบล ซึ่งยังคงสามารถได้ยินเสียงกระซิบได้อยู่ กลุ่มคนที่มีอาการหูตึงระดับปานกลาง จะได้ยินความดังอยู่ที่ระดับ 41-55 เดซิเบล สามารถมีการสนทนาเป็นกลุ่มและยังคงได้ยินเสียงพูดปกติได้ ในคนที่หูตึงมาก เสียงที่จะได้ยินเป็นเสียงของเครื่องดูดฝุ่น ที่ระดับความดังที่เบาที่สุดที่ 56-70 เดซิเบล ผู้ที่หูตึงอย่างรุนแรงจะได้ยินเสียงที่มีระดับอยู่ที่ 71-90 เดซิเบล ซึ่งจะเป็นเสียงของรถบรรทุกที่วิ่งเต็มที่หรือเสียงในโรงหนังและห้องประชุม และในผู้ที่มีอาการหูหนวก จะสามารถได้ยินเสียงที่เบาที่สุดที่ 91-120 เดซิเบล ซึ่งเป็นเสียงของเครื่องบิน เรือ และเครื่องจักร เป็นต้น

Related Posts

กายภาพกระดูกสันหลังคด

กายภาพกระดูกสันหลังคดรักษาได้ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

0 Comments

                หลาย ๆ คนอาจจะเคยเห็นผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังคด มาแชร์ประสบการณ์ บอกเล่าอาการ วิธีการรักษา รวมถึงการแชร์ภาพ และวิดีโอให้เห็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังอย่างชัดเจน ภาพที่เห็นจึงกลายเป็นเรื่องดูที่น่ากลัว…

วิธีการวางแผนการดูแลล่วงหน้า สำหรับผู้ป่วยที่ต้องผ่านการดูแล palliativecare ต้องทำอย่างไรบ้าง

0 Comments

การดูแล palliativecare หรือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง เป็นการดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต เนื่องจากว่าอาจจะเป็นโรคร้ายแรง หรือเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการดูแลด้วยวิธีนี้จะเป็นการดูแลผู้ป่วยไปตามธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสม และจากไปอย่างสงบ ซึ่งการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย…

เวย์โปรตีน

เวย์โปรตีนคืออะไร ประโยชน์ของเวย์โปรตีน

0 Comments

เราคงเคยได้ยินเรื่องราวของเวย์โปรตีนกันมามากแล้ว ซึ่งหลายคนก็ยังคงเข้าใจผิดคิดว่าเวย์นั้นเป็นยาลดน้ำหนัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย วันนี้จะพามาทำความรู้สักเจาะลึกกับเวย์โปรตีน และวิธีกินอย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกันเลย เวย์โปรตีนคืออะไร  เวย์โปรตีน (Whey Protein)…