วิธีการวางแผนการดูแลล่วงหน้า สำหรับผู้ป่วยที่ต้องผ่านการดูแล palliativecare ต้องทำอย่างไรบ้าง

0 Comments

การดูแล palliativecare หรือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง เป็นการดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต เนื่องจากว่าอาจจะเป็นโรคร้ายแรง หรือเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการดูแลด้วยวิธีนี้จะเป็นการดูแลผู้ป่วยไปตามธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสม และจากไปอย่างสงบ ซึ่งการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ทำให้จำเป็นมาก ๆ ที่จะต้องมีการวางแผนการดูแลล่วงหน้า แล้วขั้นตอนในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองมีขั้นตอนการวางแผนล่วงหน้าอย่างไรบ้าง ในบทความนี้จะมาช่วยอธิบายให้ได้เข้าใจกัน 

ผู้ป่วยที่ต้องผ่านการดูแล palliativecare กับวิธีการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ต้องทำอย่างไรบ้าง 

สำหรับในเรื่องของการดูแล palliativecare หรือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง จะต้องมีการวางแผนล่วงหน้าในหลาย ๆ ขั้นตอน โดยเป็นการวางแผนกันของหลายฝ่าย และเป็นการวางแผนที่ต้องคำนึงถึงเรื่องของสิ่งที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยร่วมกันด้วย ซึ่งขั้นตอนในการวางแผนล่วงหน้าของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ก็มีดังนี้ 

1. การวางแผนเรื่องการรักษา ในส่วนนี้จะต้องมีการสอบถามไปยังผู้ป่วยว่า ต้องการที่จะดูแลรักษาตัวเองด้วยวิธีการอย่างไร เช่น การไปพบแพทย์แผนปัจจุบัน หรืออยากที่จะรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ แทน และจะเข้ารับการบำบัดด้วยหรือไม่ 

2. การวางแผนสถานที่ที่ใช้ดูแลผู้ป่วย สำหรับเรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เพราะจะต้องมีการตัดสินใจกันว่าจะดูแลผู้ป่วยที่ไหน จะเป็นที่บ้าน, ที่โรงพยาบาล หรือว่าจะเป็นการดูแลแบบผสมผสานระหว่างทั้งสองที่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยด้วย 

3. การวางแผนเรื่องการยื้อชีวิตผู้ป่วย โดยจะเป็นการวางแผนว่าจะมีการยื้อชีวิตของผู้ป่วยหรือไม่ แล้วถ้าหากว่าจะมีการยื้อชีวิตจะใช้วิธีการใด หรือเทคโนโลยีใดบ้าง ซึ่งการวางแผนเรื่องนี้ก็เพื่อเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องพบกับความเจ็บปวด และความทรมานในการรักษามากเกินไป รวมถึงช่วยให้การรักษาเป็นไปตามที่ผู้ป่วยต้องการมากที่สุดด้วย 

4. การตัดสินใจแทนผู้ป่วย กรณีนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจเองได้แล้ว หรือไม่สามารถสื่อสารได้ คนในครอบครัวจึงจำเป็นที่จะต้องทำการตัดสินใจแทน ซึ่งจำเป็นเช่นกันที่จะต้องวางแผนเรื่องนี้ด้วยนั่นเอง 

5. การดูแลผู้ป่วยด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ในเรื่องนี้จะเป็นการวางแผนกันในหลาย ๆ เรื่อง เช่น เรื่องของผู้ที่จะทำหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วย, การจัดการสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะใช้ดูแลผู้ป่วย, ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย และการดูแลในเรื่องอื่น ๆ  

ทั้งหมดนี้ก็เป็นขั้นตอนในการวางแผนการดูแล palliativecare หรือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ซึ่งการทำแบบนี้นอกจากที่จะช่วยทำให้สามารถรู้ได้ว่าต้องดูแลผู้ป่วยอย่างไรแล้ว ก็ยังเป็นการช่วยให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างดีมากที่สุดก่อนที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตด้วย  

Related Posts

กายภาพกระดูกสันหลังคด

กายภาพกระดูกสันหลังคดรักษาได้ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

0 Comments

                หลาย ๆ คนอาจจะเคยเห็นผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังคด มาแชร์ประสบการณ์ บอกเล่าอาการ วิธีการรักษา รวมถึงการแชร์ภาพ และวิดีโอให้เห็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังอย่างชัดเจน ภาพที่เห็นจึงกลายเป็นเรื่องดูที่น่ากลัว…

ทดสอบ การได้ยิน

ทดสอบ การได้ยิน เทคนิคและเกณฑ์การประเมิน

0 Comments

ในการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของหูและการได้ยินหรือการ ทดสอบ การได้ยิน เป็นการตรวจการทำงานของหูและการได้ยินของระบบโสตประสาทในหูทั้งสองข้าง โดยเมื่อเราพบว่าหูหรือการได้ยินของเราเริ่มมีความผิดปกติ อาจจะได้ยินเสียงลดลง หรืออาจได้ยินเสียงรบกวนในหู ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการ ทดสอบ การได้ยิน…

เวย์โปรตีน

เวย์โปรตีนคืออะไร ประโยชน์ของเวย์โปรตีน

0 Comments

เราคงเคยได้ยินเรื่องราวของเวย์โปรตีนกันมามากแล้ว ซึ่งหลายคนก็ยังคงเข้าใจผิดคิดว่าเวย์นั้นเป็นยาลดน้ำหนัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย วันนี้จะพามาทำความรู้สักเจาะลึกกับเวย์โปรตีน และวิธีกินอย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกันเลย เวย์โปรตีนคืออะไร  เวย์โปรตีน (Whey Protein)…