กายภาพกระดูกสันหลังคด

กายภาพกระดูกสันหลังคดรักษาได้ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

0 Comments

กายภาพกระดูกสันหลังคด

                หลาย ๆ คนอาจจะเคยเห็นผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังคด มาแชร์ประสบการณ์ บอกเล่าอาการ วิธีการรักษา รวมถึงการแชร์ภาพ และวิดีโอให้เห็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังอย่างชัดเจน ภาพที่เห็นจึงกลายเป็นเรื่องดูที่น่ากลัว เพราะภาวะกระดูกสันหลังคดนี้ ทำให้สรีระดูผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด และยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย เราจึงอยากจะบอกว่าภาวะนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะมีวิธีการทำกายภาพกระดูกสันหลังคด วิธีการรักษาที่ตอบโจทย์ ทำให้คุณสบายใจได้ว่าเป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

หลากหลายวิธีการรักษา ด้วยการทำกายภาพกระดูกสันหลังคด

                วันนี้เราได้นำหลากหลายวิธีการรักษาภาวะกระดูกสันหลังคด ด้วยการทำกายภาพกระดูกสันหลังคดมาฝาก ให้คุณดูเป็นแนวทางว่าภาวะนี้สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยหลากหลายวิธีการ เพราะในปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่ทันสมัย เข้ามาช่วยได้มากเลยทีเดียว โดยแพทย์จะทำการประเมินอาการของคุณ เพื่อเลือกใช้วิธีการรักษาที่ดีที่สุด

ท่ากายภาพกระดูกสันหลังคด โดยไม่ต้องผ่าตัด

       การทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีนี้ ใช้กับผู้ป่วยที่อาการไม่หนักมาก ในภาวะกระดูกสันหลังคด ที่เกิดจากกล้ามเนื้อทั้ง 2 ฝั่งของกระดูกสันหลังทำงานไม่สมดุลกัน

     นักกายภาพบำบัด จะช่วยให้คุณได้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลัง และเน้นให้ออกกำลังกาย ด้วยท่ากายภาพกระดูกสันหลังคดโดยเฉพาะ เพื่อฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ข้างที่ทำงานได้ไม่ดีนัก ให้มีความแข็งแรงสมดุลกันทั้ง 2 ข้าง อีกทั้งยังเป็นการปรับรูปกระดูกสันหลังให้กลับเข้าสู่แนวเดิม หรือมีความใกล้เคียงกับแนวปกติให้ได้มากที่สุด โดยจะมีอยู่หลายท่ากายภาพ ที่คุณสามารถนำไปทำเองได้ที่บ้าน โดยเราขอยกตัวอย่าง 3 ท่า ดังนี้

  1. ท่ายืนกางแขนทั้งสองข้าง : ให้ยืนตรง และกางแขนออกทั้งสองข้างอย่างผ่อนคลาย กางออกให้สุดแขนเท่าที่จะทำได้ ค้างไว้ประมาณ 10 – 15 นาที
  2. ท่ายืนกางแขนทั้งสองข้าง และบิดลำตัว : ทำเหมือนท่าแรกทุกอย่าง แต่ให้บิดลำตัวขณะกางแขนไปด้วย โดยให้บิดจนรู้สึกตึง ค้างไว้ 10 – 15 นาที แล้วจึงสลับมาบิดลำตัวอีกฝั่งหนึ่ง
  3. ท่าคลาน ยกแขนสลับกับขา : ท่านี้คล้ายกับการเล่นโยคะเลย เป็นการฝึกกล้ามเนื้อหลังได้ดี และยังช่วยสร้างสมดุลให้ร่างกายอีกด้วย โดยให้ทำท่าคลาน เหยียดแขนตึง หลังจากนั้นให้ยกแขนขวาไปด้านหน้า พร้อมกับเหยียดขาซ้ายไปทางด้านหลังให้ตึง ค่อย ๆ ให้ร่างกายปรับสมดุล แล้วกลับเข้าสู่ท่าคลานเหมือนเดิม ต่อไปก็สลับยกแขนซ้าย กับเหยียดขาขวา

ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า

       แพทย์จะใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า กระตุ้นกล้ามเนื้อที่ด้านหลัง เพื่อลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และช่วยเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อข้างที่อ่อนแอ ให้กลับมาแข็งแรง มีความสมดุลกันทั้ง 2 ข้างให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ การกระตุ้นไฟฟ้ายังช่วยลดอาการปวดหลัง และสะโพกได้ดีอีกด้วย

ใช้เครื่องดึงคอ และกระดูกสันหลังไฟฟ้า

        เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ใช้น้ำหนักจากแรงดึงเชือก เพื่อดึงคอ และกระดูกสันหลัง ให้อยู่ในรูปที่เหมาะสม โดยนักกายภาพบำบัด จะให้คุณนอนหงาย และสวมใส่อุปกรณ์ตัวนี้ ที่บริเวณใต้คาง หลังจากนั้นจะทำการตั้งค่าน้ำหนักของเครื่อง ตามความเหมาะสม หลังจากทำการประเมินอาการของคุณแล้ว เครื่องจะออกแรงดึง บริเวณคอ และกระดูกสันหลัง เพื่อยืดกล้ามเนื้อ ทำการยึด และจัดโครงสร้างกระดูกสันหลัง และคอให้อยู่ในแนวปกติ นอกจากนี้ยังช่วยลดความตึง ลดอาการปวด และเกร็งของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย

เห็นหรือไม่ว่าการรักษาภาวะกระดูกสันหลังคดนั้นมีหลากหลายวิธี และการทำกายภาพกระดูกสันหลังคด ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด เน้นการใช้เครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และท่าการบริหารกายภาพบำบัด ที่คุณสามารถทำได้เองที่บ้าน ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

Related Posts

ทดสอบ การได้ยิน

ทดสอบ การได้ยิน เทคนิคและเกณฑ์การประเมิน

0 Comments

ในการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของหูและการได้ยินหรือการ ทดสอบ การได้ยิน เป็นการตรวจการทำงานของหูและการได้ยินของระบบโสตประสาทในหูทั้งสองข้าง โดยเมื่อเราพบว่าหูหรือการได้ยินของเราเริ่มมีความผิดปกติ อาจจะได้ยินเสียงลดลง หรืออาจได้ยินเสียงรบกวนในหู ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการ ทดสอบ การได้ยิน…

วิธีการวางแผนการดูแลล่วงหน้า สำหรับผู้ป่วยที่ต้องผ่านการดูแล palliativecare ต้องทำอย่างไรบ้าง

0 Comments

การดูแล palliativecare หรือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง เป็นการดูแลผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต เนื่องจากว่าอาจจะเป็นโรคร้ายแรง หรือเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการดูแลด้วยวิธีนี้จะเป็นการดูแลผู้ป่วยไปตามธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสม และจากไปอย่างสงบ ซึ่งการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย…

น้ำกัดเท้า

“น้ำกัดเท้า” ถ้าอยากหายต้องห้ามทำสิ่งนี้!

0 Comments

            ถ้าคุณหรือคนใกล้ตัว กำลังเป็นโรคน้ำกัดเท้า แล้วรักษาไม่หายสักที หรือเป็นๆ หายๆ จนเหนื่อยใจ บอกเลยว่าไม่ควรพลาดบทความนี้ เพราะมีคำแนะนำดีๆ มาฝาก…